#ประกันสังคม# สาระน่ารู้รัฐลดเงินสมทบประกันสังคม ผู้ประกันตนมาตรา 40


https://youtu.be/OdQy0Ola0xo

"ผู้ประกันตนมาตรา 40" หมายถึง บุคคลที่มิใช่ลูกจ้างตามมาตรา 33 หรือเป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจมาตรา 39 เรียกว่า ผู้ประกันตนโดยอิสระ โดยทางรัฐบาลต้องการขยายประกันสังคมให้ครอบคลุมแรงงานนอกระบบโดยผลักดันร่าง พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ฉบับแก้ไข เพื่อรัฐร่วมจ่ายในมาตรา 40 และแก้ไขพระราชกฤษฎีกา เพื่อพัฒนาสิทธิประโยชน์ของมาตรา 40 ให้เป็นที่จูงใจ โดยเป็นระบบสมัครใจและล่าสุดสำนักงานประกันสังคม ได้ออกกฎระเบียบใหม่สำหรับผู้มีอาชีพอิสระนอกระบบตั้งแต่ พ่อค้าแม่ค้า มอเตอร์ไซรับจ้าง แม่บ้าน พนักงานฟรีแลนซ์ เกษตรกร และ ผู้มีอาชีพอิสระอื่น ๆ สามารถสมัครประกันสังคมมาตรา 40 เพื่อรับสิทธิประโยชน์ต่างๆโดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ กรณีประสบอันตราย/เจ็บป่วย เมื่อนอนโรงพยาบาลเป็นผู้ป่วยในตั้งแต่ 1 วันขึ้นไป จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้จำนวน 200 บาทต่อวัน ไม่เกิน 30 วันต่อปี เงื่อนไขจ่ายเงินสมทบครบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 4 เดือน (การรักษาพยาบาลใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพ (บัตรทอง) จากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ) กรณีทุพพลภาพ รับเงินทดแทนการขาดรายได้จำนวน 500 – 1,000 บาทต่อเดือน เป็นเวลานานถึง 15 ปี เงื่อนไข เงินทดแทนการขาดรายได้เมื่อทุพพลภาพขึ้นอยู่กับระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบครบ 6 เดือนขึ้นไป (ต้องเป็นผู้ทุพพลภาพหรือทุพพลภาพเพิ่มขึ้นตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการการ แพทย์) กรณีตาย จะได้รับค่าทำศพจำนวน 20,000 บาทต่อราย เงื่อนไข จ่ายเงินสมทบครบ 6 เดือน ภายในระยะเวลา 12 เดือน ก่อนเสียชีวิต ยกเว้น เสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุ เงื่อนไข จ่ายเงินสมทบครบ 1 เดือน ภายในระยะเวลา 6 เดือน ก่อนเสียชีวิต กรณีชราภาพ (เงินบำเหน็จ) ผู้ประกันตนสามารถรับเงินก้อนเมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ เงื่อนไข มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ และสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน กรณีชราภาพ (เงินบำนาญ) - ผู้ประกันตนสามารถรับเงินบำนาญเมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ และสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน  

- ต้องจ่ายเงินสมทบถึงบำนาญขั้นต่ำหรือไม่น้อยกว่า 420 เดือน (35 ปี) ได้รับเงินบำนาญชราภาพขั้นต่ำเดือนละ 600 บาท ตลอดชีวิต 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

#ประกันสังคม#สิทธิประโยชน์# ประกันสังคม มาตรา 40 กรณีสงเคราะห์บุตร

#ประกันสังคม#สิทธิประโยชน์# ประกันสังคม มาตรา 40 กรณีทุพพลภาพ

#ประกันสังคม#สิทธิประโยชน์# ประกันสังคม มาตรา 40 ทางเลือกที่ 3 ได้สิทธิ...